2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง)
จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
(1)
จุดอ่อน คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(๑.๑)
ช่วงฤดูแล้งขาดน้ำมาบริโภค
(๑.๒) ไม่มีที่ทิ้งขยะ
(๑.๓) ที่ดินทำกินไม่เพียงพอ
•
ด้านเศรษฐกิจ
- ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพ
- ไม่มีที่ดินทำกิน
ที่ทำกินไม่เพียงพอ
- ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นตกต่ำ
- ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม
- เยาวชนในหมู่บ้านไม่ค่อยสนใจในทางศาสนา
- ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดิน
- การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแล
• ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
-
ประชาชนขาดความมั่นใจ และไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม
- ประชาชนไม่มีความรู้ในด้านต่างๆ
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
ในช่วงฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอ และน้ำแดงไม่สามารถนำมาบริโภคได้
- ไม่มีสถานที่ที่จะทิ้งขยะ
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนขาดความรู้ในการกำจัดขยะ
- ประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับการกำจัดยุง
เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากยุงเป็นพาหะนำโรค
(2) จุดแข็ง Strength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)
(2.1)
ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคี
(2.2) มีการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านอย่างเคร่งครัด
(2.3) ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
• ด้านเศรษฐกิจ
- มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ
- ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำงาน
- ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม) - ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
-
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
- ประชาชนมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน
- เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีการศึกษาเล่าเรียน
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชาชนรู้จักที่จะเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในหมู่บ้าน
- สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่
- ประชาชนได้ศึกษาวิธีการรักษาดินเพื่อการเกษตร
จากวิทยากรที่มาให้ความรู้
- ประชาชนช่วยกันดูแลสระน้ำ เนื่องจากฤดูแล้งสามารถใช้น้ำได้
- ในหมู่บ้านได้สร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อ
• ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
-
หมู่บ้านมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความกระตือรื้อร้น มีความสามัคคี
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
-
มีการปกครองโดยแบ่งความรับผิดเป็นโซน โดยผู้ช่วยฯ ผรส.
จะมีหน้าที่รับผิดชอบโซนของตัวเอง
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
ในหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน
- ในหมู่บ้านได้มีประปา
เพื่อป้องกันในช่วงฤดูแล้ง
• ด้านสาธารณสุข
- ประชาชนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
- ประชาชนให้ความสำคัญในการดูแลความสะอาดบริเวณบ้าน
- ประชาชนให้ความสนใจในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง
2.2
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(1.1)
นโยบายของรัฐได้มีโครงการต่างๆเข้ามาในหมู่บ้าน
เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่
และเพื่อที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น
(1.2)
รัฐมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตร โดยให้มีการปลูกพืชซ่อมแซม
(๑.๓)
รัฐมีการสนับสนุนให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(โอกาส คือ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์
หรือทำให้การดำเนินงานของหมู่บ้านเหนือหมู่บ้านอื่น เช่น
หลายหมู่บ้านมีจุดขายด้านแหล่งท่องเที่ยวเช่นเดียวกับหมู่บ้านเรา
แต่เรามีโอกาสที่เหนือกว่า คือ เรามีธรรมชาติที่คงความเป็นธรรมชาติมากกว่า)
(2) อุปสรรค Threat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
(2.1)
ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้รายได้ประชาชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรลดลง
(2.2) นโยบายของรัฐดำเนินการไม่ต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ทำให้เกิดความไม่แน่นอน
(2.3) ราคายางพาราตกต่ำ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ดีขึ้น
(อุปสรรค คือ ข้อจำกัด
ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น)
2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน
หมู่บ้านตักวา ประชาชนมีส่วนร่วม
สร้างความสามัคคี นำพาสันติสุข
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน
(CIA)
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน
การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว
ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ SWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น